วันเสาร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

สวามี (Swami) กับ สามี ?

สวามี (Swami) คืออะไร

สวามี (Swami) เป็นคำที่มีความหมายเดียวกับคำว่า สามี หรือเปล่า?

สวามี เป็นคำมาจากภาษาบาลี หมายถึง ผู้ที่รู้และเป็นนาตน อิสระจากความรู้สึก คำว่าสวามีเป็นคำนำหน้าชื่อสำหรับผู้ที่เป็นครูทางด้านโยคะ ผู้ที่อุทิศตนเพื่อพระเจ้า และอุทิศตนให้กับครูทางจิตวิญญาณของสวามี

สวามีแปลว่า ครู อาจารย์ หมายถึงความพยายามที่ต่อสู้เพื่อเป็นนายของตนเอง เพื่อให้ความเป็นตัวตนภายในเปล่งประกายชั่วนิรันดร์ การเป็นสวามีเป็นการตัดเรื่องทางโลก เป็นการสละชีวิตทางโลก สวามีคือพระที่ตัดเรื่องการแสวงหาทางโลกออก แต่อุทิศเวลาเพื่อความพยายามทั้งหมดให้กับการแสวงหาประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติเพือให้บรรลุผลเกี่ยวกับจิตวิญญาณชั้นสูง และให้บริการแก่สังคมในด้านนี้  การสละชีวิตทางโลกมิได้หมายถึงการต่อต้านหรือขวางโลก หรือมีความรู้สึกในด้านลบต่อทางโลก ในอดีตการเสียสละชีวิตทางโลกเป็นเรื่องเกี่ยวกับขั้นตอนสี่ประการของชีวิต แม้ว่าจะมีที่รู้สึกเหมือนมีเสียงเรียกภายในให้สละชีวิตทางโลก และกลายเป็นสวามีเมื่อใดก็ได้

ขั้นตอนชีวิตของชาวอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดูในสมัยก่อนกำหนด ด้วยการฝึกปฏิบัติให้เหมาะสมกับแต่ละขั้นตอนของชีวิต โดยคำนวณว่าช่วงชีวิตคนอาจมีอายุถึง 100 ปี แต่ละช่วงชีวิตจะแบ่งเป็นช่วงละ 25 ปี หรือลดลงมาตามอัตราส่วน วัตถุประสงค์ของชีวิตคือการบรรลุถึงประสบการณ์ตรงของการเข้าถึงความจริงด้วยตนเองด้วยการทำโยคะ หรือการก่อให้เกิดแสงสว่างทางปัญญา มีรายละเอียด ดังนี้

0 - 21 / 25 ปี พรหมจารี (Brahmacharya / student) ช่วงเยาว์วัยเป็นช่วงที่ต้องแสวงหาความรู้สำหรับเป็นพื้นฐานของชีวิต จุดมุ่งหมายเพื่อความสมบูรณ์ การเรียนรู้และการมีกฎเกณฑ์สำหรับการดำเนินชีวิตในช่วงวัยต้อไป เรียนรู้เรื่องจิตใจ ชุมชน และชีวิตครอบครัว

21 - 42 (25 - 50) ปี คฤหัสถ์ (Grahasta / Householder) ได้แก่วัยผู้ใหญ่ คือการมีชีวิตคู่ สร้างความมั่นคงให้กับตนเองและครอบครัว ทำหน้าที่ทางโลกให้ประสบผลสำเร็จ เป็นช่วงเวลาของการให้ การเรียนรู้ และความรักให้กับครอบครัวและชุมชน  การปฏิบัติทางศาสนาและทางจิตใจในบริบทของชีวิตทางโลกและให้บริการแก่ผู้อื่น

42 - 63 (50 - 75) ปี วานปรัสถ์ (Vanaprastha / Hermitage) วัยสูงอายุ ขั้นตอนนี้เป็นเวลาของการฝึกปฏิบัติจิตใจด้วยการทำสมาธิ และสวดมนต์ ความสัมพันธ์กับลูกหลานที่โตแล้ว และชุมชนเป็นบทบาทของพี่เลี้ยงต่อผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างเรียบง่าย ตนและคู่ครองอาจฝึกสมาธิในสถานที่เงียบสงบเพื่อการปฏิบัติที่ลึกซึ้ง

63 - 84+ (75 - 100+) ปี สันยาส (Sanyasa / Renunciate) วัยชรา ผู้สูงวัยปล่อยวางจากการดำเนินชีวิตทางโลกแสวงหาหนทางหลุดพ้นในชีวิตบั้นปลาย บำเพ็ญพรตและจาริกสั่งสอนผู้อื่นให้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ
การเป็นสวามีคือการสละความเป็น ฉัน หรือ ของฉัน” สวามีคิดว่าตนเองเป็นสมาชิกของทุกครอบครัวในโลกด้วยการดูแลทั้งกายและจิตเป็นอันดับแรก ช่วยเหลือในการฝึกปฏิบัติด้วยความรัก นำไปสู่การลดชีวิตทางโลกลง เป็นความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับทุกสิ่ง แต่ไม่ยึดติดกับสิ่งใดเลย สวามีมิได้คาดหวังอะไรจากใคร สวามีเหมือนกับพระอาทิตย์ที่ส่องแสงคือนุ่งชุดสีส้มหรือเหลืองส้ม สวามีจะเป็นผู้ให้แสงสว่างกับผู้ที่อยู่ในมุมมืด

ผู้ที่จะเป็นสวามีต้องเดินไปที่แม่น้ำคงคา ถอดเสื้อผ้าออก ผู้ที่จะเป็นสวามีจะได้รับชุดใหม่ จากธรรมเนียมปฏิบัติของกูรู ทางด้านจิตใจหญิงหรือชายเหล่านั้นต้องทำตัวไร้เพศ โดยที่ไม่ยึดติดในความเป็นตัวตนทางร่างกายของตนอีกต่อไป  เขาเหล่านี้จะไม่เป็นเจ้าของสิ่งใดของตนอีก เขาจึงได้รับการเรียกว่า สวามี เป็นครูที่อยู่เหนือความต้องการของตนเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มหากาลีเทวีพิทักษ์โลก Mahakali - Anth Hi Aarambh Hai

มหากาลี เทวีพิทักษ์โลกา ประเภท ดราม่าอิงตำนาน เหนือธรรมชาติ กำกับโดย     Loknath Pandey, Madan Vaishyaal อำนวยการสร้างโดย  ...