วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2561

ตำนานพระศิวะ มหาเทพผู้ยิ่งใหญ่

พระศิวะมหาเทพ


พระศิวะ (คนไทยเรียกว่า พระอิศวร) เป็นบิดาของ พระพิฆเนศ มีชายาคือ พระแม่อุมาเทวี พระศิวะทรงเป็นมหาเทพผู้เป็นใหญ่ในจักรวาล หนึ่งใน ตรีมูรติ หรือ 3 มหาเทพสูงสุดแห่งศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู (พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ)

พระองค์ทรงประทานพรวิเศษให้แก่ผู้หมั่นกระทำความดี และยึดมั่นในศีลธรรม หากผู้ใดประพฤติเพื่ออุทิศถวายแก่พระองค์แล้วปรารถนาสิ่งวิเศษใดๆ พระองค์ก็จะประทานพรนั้นๆให้ แต่เมื่อได้พรสมปรารถนาแล้ว วันหน้าหากกระทำผิดไปจากความดีงาม ผู้นั้นจะเกิดวิบัติในชีวิต พระศิวะเทพจะเป็นผู้ทำลายทันที!!

มีความเชื่อกันว่าพระศิวะนั้น สามารถช่วยปัดเป่ารักษาเยียวยาอากาศเจ็บไข้ได้ป่วยต่างๆ ได้อย่างมหัศจรรย์นัก!! หากผู้ใดที่เจ็บป่วยหรือต้องการขอพรให้คนในครอบครัวหายเจ็บไข้ได้ป่วย ถ้ากระทำการบวงสรวงบูชาและขอพรจากพระศิวะ ก็มักปรากฏว่าความเจ็บไข้ได้ป่วยนั้นถูกปัดเป่าให้หายไปได้โดยสิ้นในเร็ววัน

พระองค์เป็นเทพที่จะคอยขับไล่สิ่งชั่วร้ายให้ห่างไกล และทำให้เกิดความดีงามเป็นศิริมงคลเกิดขึ้น ผู้ที่มีความทุกข์ไม่ว่าจะเป็นในทางใด หากบวงสรวงบูชา ขอพรให้พ้นทุกข์ พระศิวะก็จะประทานพรให้ผู้นั้นได้พ้นจากห้วงแห่งความทุกข์ด้วยเช่นกัน


พระศิวะ นั้นเป็นเทพที่จะอำนวยพรประทานความ
อุดมสมบูรณ์ให้แก่ผู้ที่มีอาชีพเลี้ยงวัว เลี้ยงม้า หรือเลี้ยงแกะ และอาชีพที่เกี่ยวกับการเกษตรทั้งปวง ก็จะมีความสำเร็จและมีความสมบูรณ์พูนสุข หากบวงสรวงบชาพระศิวะ...

นอกจากบทบาทความสำคัญโดยรวมที่กล่าวมาแล้วนั้น อีกบทบาทหนึ่งที่เด่นชัดแยกออกไป จากบทบาทของการเป็นมหาเทพ ผู้ทรงมีพระมหากรุณา ประทานพรแก่มวลมนุึ์ษย์นั้น พระศิวะยังทรงเป็นเทพแห่งคีตา คือเป็นเทพเจ้าแห่งการดนตรี และการร่ายรำ ระบำฟ้อนอีกด้วย

พระศิวะ ผู้เป็นพระเป็นเจ้าแห่งการทำลายล้าง พระองค์เปี่ยมไปด้วยอำนาจ พระพักตร์ของพระองค์แสดงให้เห็นว่าเป็นทั้งชาย เป็นทั้งหญิง เป็นทั้งผู้ใจดี เป็นทั้งผู้ดุร้าย จากชิ้นฝุ่นธุลี ไปจนถึงภูเขาหิมาลัย จากมดตัวเล็กๆ ไปจนถึงช้างตัวใหญ่ จากมนุษย์ไปจนถึงพระเป็นเจ้า อะไรก็ตามที่เราสามารถเห็นได้นั้น เป็นรูปแบบของพระศิวะทั้งหมด

ใน คัมภีร์อุปนิษัท ของฮินดู การท่องคำในพระคัมภีร์ส่วนมากมีคำว่า "ศิโวมฺสวหะ" (ข้าคือศิวะ) หมายความว่า บุคคลผู้มีสติปัญญาทุกๆคน ควรพิจารณาถึงตัวเอง และสิ่งทั้งหลายของสากลโลกเป็นรูปแบบของพระศิวะทั้งสิ้น เมื่อคิดระลึกได้อย่างนี้แล้ว ผู้นั้นก็จะเข้าถึงความสุขความสงบ

กำเนิดของพระศิวะนั้น ปรากฏเป็นเรื่องที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละยุคดังนี้

ยุคพระเวท

เรื่องก็มีอยู่ว่า พระพรหม นั้น เกิดความรำคาญอกรำคาญใจเป็นอย่างยิ่งนัก ที่พระเสโทหรือเหงื่อผุดซึมทั่วพระวรกาย และยังไหลรินย้อยลงทั่วบริเวณพระพักตร์อีกด้วย ในวันอันร้อนอ้าวเช่นนั่น พระพรหมทรงบำเพ็ญภาวนา เพิ่มตบะบารมีให้แกร่งกล้าอย่างมุ่งมั่น เมื่อรู้สึกว่าถูกรบกวนด้วยเหงื่อเช่นนั้น ก็จึงได้นำเอาไม้ไปขูดๆ ที่บริเวณพระขนงหรือคิ้ว โดยมิได้ระมัดระวังองค์นัก คมของไม้นั้นจึงได้บาดบริเวณพระขนงของพระองค์ จนกระทั่งปรากฏพระโลหิตผลุดซึมออกมา และหยาดหยดลงบนกองเพลิงเบื้องหน้าของพระองค์นั้นเอง ทันทีที่พระโลหิตหยาดหยดลงในเปลวเพลิง ก็พลันเกิดเป็นเทพบุตรองค์หนึ่ง จุติขึ้นมาในเปลวเพลิงนั้น ทันทีที่ถือกำเนิดขึ้นมาเบื้องหน้าพระองค์ เทพบุตรผู้งดงามองค์นี้ก็ได้ร้องไห้ พลางขอให้พระองค์ประทานนามให้แก่ตน ซึ่งพระพรหมได้ประทานให้ถึง 8 นามด้วยกันดังนี้

ภพ สรรพ ปศุบดี อุดรเทพ มหาเทพ รุทร อิศาล อะศะนิ
หลังจากนั้น เทพองค์นี้ก็มีชื่อเสียง เป็นที่นับถือของมนุษย์ทั่วไป โดยส่วนใหญ่แล้วบรรดามวลมนุษย์จะนับถือบูชาเทพบุตรองค์นี้ ในนามของ พระรุทร อันเป็นชื่อ หนึ่งใน 8 นาม ซึ่งนามรุทรนี้มีความหมายแปลได้ว่า ร้องไห้ สำหรับนามอื่นๆ อีก 7 นามนั้นยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายเท่าไรนัก ว่ากันว่าพระรุทรเทพบุตรที่มีชื่ออันแปลว่าร้องไห้นี้ เป็นมหาเทพที่มีความยิ่งใหญ่เกรียงไกร มีอำนาจบารมีค่อนข้างสูงนักในยุคพระเวทนี้ และยังเป็นเทพที่มนุษย์ทุกผู้ทุกนามนิยมนับถือบูชากันอย่างจริงจัง โดยนับถือให้พระรุทรเป็นเทพผู้ทำลายล้าง คือทำลายสิ่งที่เลวร้ายให้สะอาดบริสุทธิ์ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง แล้วให้พระพรหมสร้างสิ่งที่ดีงามขึ้นใหม่

ยุคมหากาพย์ มหาภารตะ

ในยุคนี้มีความเชื่อกันในเรื่องกำเนิดพระศิวะว่า พระองค์นั้นทรงจุติออกมาจากพระนลาฏ หรือหน้าผากของ พระพรหม จึงเท่ากับว่า พระศิวะ ก็เป็นพระโอรสองค์หนึ่งของ พระพรหม

ยุคไตรเภท

คัมภีร์ในยุคนี้ได้บันทึกถึงกำเนิดพระศิวะว่า ทรงประสูติจาก พระนางสุรภี และพระบิดาก็คือ พระกัศยปะเทพบิดร

คัมภีร์พรหมมานัส

พระศิวะเป็นเทพที่กำเนิดจาก พระประชาบดี มิได้เกิดจากพระโลหิตของ พระพรหม ดังเช่นที่มีการกล่าวไว้ในยุคพระเวท ครั้นเมื่อทรงจุติขึ้นมาแล้วเทพประชาบดีก็ถามพระโอรสว่า เหตุไฉนจึงร่ำไห้โศกาอาดูรตลอดเวลา

พระรุทร หรือเทพบุตรโอรสของพระประชาบดีที่กำลังร่ำไห้อยู่นั้น จึงได้ทูลตอบว่า เพราะว่าพระบิดาไม่ได้ตั้งชื่อ ให้เมื่อไม่มีชื่อก็จึงเสียใจร้องไห้เช่นนั้น พระประชาบดีจึงได้ตั้งชื่อให้โอรสองค์นี้ว่า พระรุทรซึ่งหมายถึงการร้องไห้ และพระรุทรองค์นี้ในคัมภีร์พรหมนัสได้กล่าวไว้ว่า น่าจะหมายถึงองค์ศิวะนั่นเอง ในคัมภีร์โบราณ ที่ปรากฏอยู่ในหอวชิรญาณ ได้อธิบายถึงประวัติการกำเนิดของพระศิวะไว้ว่า เมื่อโลกได้ถูกเผาด้วยไฟบรรลัยกัลป์จนพินาศโดยสิ้นแล้วนั้น ได้มี คัมภีร์พระเวทและพระธรรม บังเกิดขึ้น และเมื่อพระเวทกับพระธรรมมาประชุมรวมกัน จึงได้บังเกิดเป็นมหาเทพองค์หนึ่งคือ พระปรเมศวร ในคัมภีร์นี้อธิบายการกำเนิดของพระศิวะว่าทรงสร้างพระองค์ขึ้นมาเอง หลังจากการทำลายล้างโลก โดยที่มิได้เป็นโอรสหรือจุติมาจากการนิรมิตสร้างสรรค์ของมหาเทพองค์ใด

 

จันตระการตา ราชกุมารีกู้บัลลังก์

จันตระการตา ราชกุมารีกู้บัลลังก

ประเภท ดราม่า แฟนตาซี เหนือธรรมชาติ
กำกับโดย    Ranjan Kumar Singh
อำนวยการสร้างโดย       Ekta Kapoor, Shobha Kapoor
นำแสดงโดย มาดูรีมา ทูลี, วิชาล อทิตยา ซิงห์, เออร์วาชิ โดลาเกีย, ชาด รันดาวา
เรื่องย่อ เจ้าหญิงจันตระการตา บุตรีของราชินีรัตนประภา ผู้ครอบครองกริชแห่งพระวิษณุที่มีพลังอำนาจมาก อิรวตี ราชินีผู้ชั่วร้าย ต้องการจะครอบครองกริชเล่มนั้น เพื่อที่จะครอบครองโลกและเอาชนะอาณาจักรวิชัยการ ราชินีรัตนประภาได้ซ่อนกริชของพระวิษณุเอาไว้ที่เทวาลัยของพระวิษณุ เพื่อที่จะส่งต่อให้กับเจ้าหญิงจันตระการตา เพื่อที่จะได้กริชมาครอบครอง อิรวตีได้สังหารรัตนประภาและราชวงศ์ทั้งหมด เว้นเสียแต่เจ้าหญิงจันตระการตา ที่พระนางรัตนประภาทรงจับนางใส่ตะกร้าลอยน้ำไปเสียก่อนที่จะถูกสังหาร ซึ่งคู่สามีภรรยาชาวบ้านได้เก็บนางขึ้นมาและเลี้ยงดูเป็นบุตรบุญธรรม วันเวลาผ่านไป 21 ปีต่อมา ความจริงได้เปิดเผย เจ้าหญิงจันตระการตาต้องกลับมาทวงบัลลังก์ของตนคืน

เรื่องย่อโปรุส

เรื่องย่อ โปรุส

ศึกสองราชันย์ โปรุส และ อเล็กซานเดอร์ 

อเล็กซานเดอร์  การรบครั้งสุดท้าย เมื่อ พ.ศ. 216 พระองค์ได้ทะลุถึงกรุงตักกศิลา (Taxila) แคว้นคันธาระ เมืองที่มีชื่อเสียงด้านการศึกษาทั้งพุทธศาสนา และพราหมณ์ ณ ที่นี่พระเจ้าอัมพิราชา (Ambhiraja) ไม่ได้ทรงต่อต้านเพราะเห็นว่า ตัวเองมีกำลังอำนาจไม่เข้มแข็ง พอที่จะต้านศัตรูต่างแดนได้ จึงได้เปิดเมืองต้อนรับอเล็กซานเดอร์ ซึ่งพระองค์ก็ไม่ได้ทำอะไร เพียงแต่ให้ตักกศิลาเป็นเมืองขึ้นต่อมาเกโดนีอาเท่านั้นแล้วให้ปกครองตามเดิม แล้วทรงขอให้ตักกศิลาส่งทหารมาช่วยรบปัญจาบ 5,000 คน ซึ่งพระเจ้าอัมพิราชาก็ยินยอม

การรบครั้งสุดท้ายที่มีผู้ต่อกรกับอเล็กซานเดอร์มหาราชอย่างจริงจัง เมื่อพระองค์ยกกองทัพเข้ามาทางภาคเหนือของอินเดียในปี พ.ศ. 217 โดยเข้าสู่บริเวณลุ่ม แม่น้ำสินธุ แล้วบุกตระลุยลงมาสู่เมืองนิเกีย (Nicaea) แคว้นปัญจาบ ในพระเจ้าโปรัสหรือพระเจ้าพอรุส (Porus) (หากใช้สำเนียงเอเซียจะเรียกว่าพระเจ้าเปารวะ) พระเจ้าเปารวะเป็นผู้เข้มแข็งในการรบ ซึ่งมีพระสมญาว่า “สิงห์แห่งปัญจาบ” ได้รับแจ้งข่าวกับบรรดามหาราชาแห่งอินเดียว่ามีข้าศึกชาวตะวันตกผมบรอนซ์ตาสีฟ้ายกทัพข้ามภูเขาฮินดูกูชเข้ามา ฝ่ายอินเดียระดมกำลังพลทหารราบ 40,000 ทหารม้า 4,000 รถศึกอีก 500 และกองทัพช้างมหึมาจำนวน 500 เชือกรอรับอยู่ กองทัพกรีกพร้อมทหารตักกศิลาเป็นพันธมิตร ที่มีกำลังพลจำนวน 17,000 โดยมีอเล็กซานเดอร์เป็นแม่ทัพกับกองทัพปัญจาบ ของฝ่ายอินเดียโดยมีพระเจ้าเปารวะเป็นแม่ทัพ


โดยพระองค์ได้มองเห็นทัพพระเจ้าเปารวะตั้งอยู่ฝั่งตรงกันข้ามแม่น้ำวิตัสตะ อันเป็นสาขาของแม่น้ำสินธุ เมื่อถึงตอนกลางคืนทัพของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้ปะทะกันที่ฝั่งแม่น้ำ และเริ่มโจมตีอย่างฉับพลัน ทัพของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้ข้ามแม่น้ำสำเร็จโดยอาศัยธรรมชาติช่วย แต่ทหารม้าของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชไม่เคยสู้รบกับช้าง ประกอบกับเกิดความสับสนอลหม่านจึงบังเกิดความแตกตื่นอลหม่านขึ้น ช้างศึกจึงอาละวาดเหยียบทั้งทหารตนเองและทหารกรีก และ ทหารหอกยาวนับหมื่นของพระองค์ก็ได้พยายามต่อสู้อย่างเต็มความสามารถ นี้เป็นครั้งแรกตั้งแต่รบมาเป็นเวลา 15 ปีที่กองทหารหอก (Phalanx) อันมีระเบียบวินัยในพระองค์บาดเจ็บจนบ้าเลือดบุกตะลุยไปทั่ว ทำร้ายไม่ว่าจะเป็นทหารจากฝ่ายใด การรบวันนั้นต้องสิ้นสุดลงด้วยการหย่าศึก เพราะบาดเจ็บล้มตายกับทั้งสองข้าง แต่ถึงอย่างไรพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชก็ยังทรงได้รับชัยชนะอยู่ดี เพราะพระเจ้าเปารวะถูกลูกศรขณะที่ทรงช้างจนพระองค์บาดเจ็บสาหัส และทัพอินเดียของพระเจ้าเปารวะก็แพ้อย่างยับเยิน พร้อมกับถูกนายทหารกรีกจับตัวมาเฝ้าพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ในฐานะเชลยสงคราม เมื่อพระเจ้าเปารวะถูกจับมาเผชิญพระพักตร์กับพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ มหาราชตรัสถามว่า

 “พระองค์ต้องการจะให้เราปฏิบัติอย่างไร?” พระเจ้าเปารวะตรัสตอบอย่างองอาจว่า

 “ต้องการให้ปฏิบัติเราอย่างกษัตริย์” แทนที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชจะพิโรธกลับตรัสถามต่อไปว่า

 “ทรงประสงค์จะขออะไรอีก?” พระเจ้าเปารวะจึงตรัสตอบว่า

 “คำว่า “กษัตริย์” นั้นครอบคลุมไปถึงสิ่งทั้งหมดที่เราต้องการขอแล้ว”

ดินแดนภายใต้การยึดครองของอเล็กซานเดอร์ด้วยความกล้าหาญรักษาขัตติยเกียรติของพระเจ้าเปารวะทำให้พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชซึ่งมีพระทัยโปรดคนกล้าหาญ ได้พระราชทานคืนบ้านเมืองให้แล้วแต่งตั้งพระเจ้าเปารวะให้เป็นพระราชาตามเดิม แต่ดำรงในฐานประเทศราช

เสร็จศึกในครั้งนั้นอเล็กซานเดอร์มหาราช ได้สดับความมั่งคั่งสมบูรณ์ของแคว้นมคธ และได้ตระเตรียมยาตราทัพมาตี แต่ทหารของพระองค์ที่ร่วมศึกกับพระองค์มาตั้งแต่เป็นพระยุพราชเป็นเวลา 15 ปีที่ไม่ได้กลับบ้านกลับเมือง พากันเบื่อหน่ายการรบ โดยให้ความเห็นว่าถ้าตีมคธได้ก็คงตีแคว้นอื่นต่อไปอีกไม่มีกำหนดสิ้นสุด ประกอบกับ ทหารบางคนลังเลและก่อกบฏไม่ยอมสู้รบอีกต่อไป[48] อเล็กซานเดอร์มหาราชจึงต้องจำพระทัยเลิกทัพกลับ ช่วงนิวัตกลับอเล็กซานเดอร์มหาราชแบ่งกองทัพออกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งให้กลับทางบก ส่วนพระองค์นิวัตโดยทางชลมาร์คลงมาตามแม่น้ำสินธุอย่างผู้พิชิตพร้อมด้วยทหารฝ่ายที่เหลือ รวมเวลาที่อเล็กซานเดอร์มหาราชรบอยู่ในอินเดีย 1 ปี กับ 8 เดือน พระองค์ได้เสด็จฯไปยังกรุงบาบิลอน โดยนำทัพย้อนกลับมาทางตะวันตกผ่านดินแดนแห้งแล้ง ทางตอนใต้ของอิหร่าน ในช่วงเส้นทางนี้มีทหารล้มตายหลายพันคน เนื่องจากแสงแดดแผดร้อน แห้ง และขาดน้ำ แต่ในท้ายที่สุด พระองค์ก็พาเหล่าทหารที่เหลือเดินทางมาจนถึงบาบิโลนในเมโสโปเตเมีย ซึ่งเป็นนครเอกของโลกในเวลานั้น

วันอังคารที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2561

มหากุมภะ สงครามพญาครุฑ


มหากุมภะ สงครามพญาครุฑ

ประเภท ย้อนยุคอิงตำนานความเชื่อ เหนือธรรมชาติ

กำกับโดย    Arvind Babbal

อำนวยการสร้างโดย       Arvind Babbal

นำแสดงโดย เกาตาม โรด, สิทธัตถะ นิกัม, ปายัล ราจพุต, ซีมา บิสวาส


เรื่องย่อ เรื่องราวการผจญภัยสุดตื่นเต้นเร้าใจของเด็กชายผู้ครอบครองพลังเหนือธรรมชาติโดยมีรัฐอุตตรประเทศเป็นฉากหลัง รุทระเด็กชายธรรมดาที่ไม่ธรรมดา แม้ในตอนเด็กจะไม่ทราบว่า ตัวเองมีพลังวิเศษ แต่เมื่อเติบโตขึ้น พลังของเขาก็ค่อยๆ ปรากฏ และได้เข้าร่วมเป็น 1 ใน 7 ผู้ปกป้องน้ำอมฤต ที่เชื่อกันว่า เป็นหยดน้ำทิพย์ที่ตกลงมาจาก กุมภะ ถูกเก็บรักษาโดยเหล่าทวยเทพ และปกป้องโดย ‘ครุฑ’ นกศักดิ์สิทธิ์ มีความเชื่อว่า น้ำอมฤตนี้จะออกมาจาก สังคัม หรือจุฬาตรีคูณ [จุดที่แม่น้ำ 3 สาย (แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา และแม่น้ำสรัสวตี) มารวมตัวกัน] ในทุกๆ 144 ปี ระหว่างเทศกาลมหากุมภะ เมลา ซึ่งเป็นการรวมตัวอันศักดิ์สิทธิ์ของสังคมฮินดูครั้งที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ

ศิวะ พระมหาเทพ


ศิวะ พระมหาเทพ

ประเภท ดราม่าอิงตำนานความเชื่อ

บทประพันธ์โดย  Aniruddh Pathak

กำกับโดย    Nikhil Sinha

อำนวยการสร้างโดย       Triangle Film Company

นำแสดงโดย โมหิต ไรนา, โมนี รอย, โซนาริกา บาห์ดอเรีย, ซุเรนดรา พัล


เรื่องย่อ เรื่องราวชีวิตเหนือธรรมชาติและความรักระหว่างมหาเทพศิวะ ผู้เป็น 1 ใน 3 เทพตรีมูรติผู้ยิ่งใหญ่ กับเทพีศักติ หรือพระแม่อุมาเทวี ชายาคู่บุญ เรื่องราวเริ่มต้นจากการกลับชาติมาเกิดเป็นมนุษย์หญิงของเทพีศักติในนามว่า สตี พระราชธิดาในท้าวทักษะประชาบดี ผู้ศรัทธาในองค์พระวิษณุและเกลียดชังพระศิวะอย่างแรงกล้า พระนางสตีทรงรักและเทิดทูนพระศิวะมาก นำไปสู่ความรักท่ามกลางความไม่พอใจของพระบิดา นางต้องทนต่อคำดูหมิ่นเหยียดหยามของพระบิดาที่มีต่อพระศิวะมาโดยตลอด จนเมื่อนางทนต่อไปไม่ไหว จึงทรงเข้าตบะและขับเพลิงออกจากร่าง เพื่อสังหารพระองค์เอง เมื่อพระศิวะทรงทราบเรื่องก็โกรธกริ้วและอาระวาดอย่างหนัก หลังจากนั้น พระศิวะก็เฝ้าเก็บตนบำเพ็ญตบะ ฝ่ายพระนางสตีก็ได้กลับชาติมาเกิดใหม่นามว่า ปารวตี พระราชธิดาในท้าวหิมวัต จ้าวแห่งภูเขาหิมาลัย หลังจากต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคต่างๆ นานัปการ พระศิวะก็ได้พบกับพระนางปารวตีอีกครั้ง




เรื่องย่อซีรี่ส์อินเดีย มหาภารตะ

เรื่องย่อมหาภารตะ



มหากาพย์เรื่องยาวที่มีชื่อเสียงของอินเดียโบราณเคียงคู่มากับมหากาพย์รามายณะ หรือรามเกียรติ์บ้านเรานั้นเอง มหากาพย์สองเรื่องนี้เป็นไม่ใช่วรรณกรรมทั่วๆไปแต่จัดเป็นคัมภรีศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาฮินดูเลยทีเดียว กล่าวกันว่าใครอ่านคำภีร์สองเล่มนี้ จะเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า ล้างบาปได้!! มหากาพย์เรื่องยาวที่มีชื่อเสียงของอินเดียโบราณเคียงคู่มากับมหากาพย์รามายณะ หรือรามเกียรติ์บ้านเรานั้นเอง มหากาพย์สองเรื่องนี้เป็นไม่ใช่วรรณกรรมทั่วๆไปแต่จัดเป็นคัมภรีศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาฮินดูเลยทีเดียว กล่าวกันว่าใครอ่านคำภีร์สองเล่มนี้ จะเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า ล้างบาปได้!! สำหรับคนไทยแล้วอาจมีความคุ้นเคยกับเรื่องมหาภารตะน้อยกว่ารามเกียรติ์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว 2 เรื่องยิ่งใหญ่ไม่แพ้กัน เนื้อเรื่องว่าด้วยสงครามระหว่างพี่น้องวงศ์กษัตริย์เลือดเนื้อเชื้อไขบรรพบุรุษเดียวกันคือ พวกปาณฑพ(ปาน-ดบ) และ พวกเการพ(เกา-รบ) ปมแห่งความขัดแย้งได้ก่อตัวตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นเด็กเล็กถึงโตเป็นกษัตริย์ปกบ้านครองเมือง ต้นเหตุหลักๆของเรื่องก็ไม่พ้นเรื่องคลาสสิคแห่งการเกิดสงครามทั่วๆไปคือ ความขัดแย้งเชิง ความริษยา การชิงดีชิงเด่น ผลประโยชน์ ผู้หญิง การพนัน การคดโกง!! ฯลฯ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ในเรื่องก็ได้ชี้ให้เห็นว่า ญาติผู้ใหญ่พยายามหาทางออกทุกทางเพื่อให้ความขัดแย้งได้คลี่คลาย แต่ก็ล้มเหลว เนื่องจากความขัดแย้ง สลับซับซ้อนซ่อนเงื่อน ต่างฝ่ายต่างมีเหตุผลข้ออ้าง ที่ยากจะกล่าวได้ว่าฝ่ายใดผิดถูกไปกว่ากัน พวกบรรดาญาติสนิทมิตรสหายประชาชนก็แตกแยกกันเข้าข้างใดข้างหนึ่ง แล้วสถานการณ์ได้ยืดเยื้อมาจนถึงจุดที่มิอาจกระทำการประณีประนอมสมานฉันท์อะไรกันได้อีก สงครามเท่านั้น คือทางออก!! สองฝ่ายก็ได้รบพุ่งประจัญบานกันที่ทุ่งกุรุเกษตร เป็นเวลาถึง 18 วันท้ายที่สุดสงครามยุติ ฝ่ายปาณฑพเป็นฝ่าย ชนะ

จุดเริ่มต้นก่อเกิดเรื่องราวจนเป็นมหากาพย์ตำนานอันยิ่งใหญ่ ''มหาภารตะ'' ในมหาภารตะชุดที่ 1  เป็นการเปิดตำนานเล่าเรื่องโดยเริ่มต้นจากการลำดับวงศ์กษัตริย์แห่งราชวงศ์กุรุโดยตำนานเริ่มจากพระราชาชื่อ ท้าวศานตนุแห่งราชวงศ์กุรุเป็นสำคัญ ท้าวศานตนุแต่งงานกับเจ้าแม่คงคามีลูกชายด้วยกัน ชื่อ ภีษมะ


ต่อมาท้าวศานตนุแต่งงานใหม่กับลูกสาวชาวประมงชื่อ สัตยวดี มีลูกชายด้วยกันสองคนคือ จิตรางคทะ กับวิจิตรวีรยะ ลูกชายของท้าวศานตนุที่เกิดจากนางสัตยวดี เพราะความโลภของสัตยวดีและการเสียสละของภีษมะ และศานตนุ ต่างฝ่ายต่างก่อให้เกิดคำสัตย์สาบานที่น่าเกรงกลัวขึ้นที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา  เรื่องราวยังคงดำเนินต่อมาอีก25ปี จนถึงยุคของเจ้าชายแห่งหัสตินาปุระ,วิจิตรวีรยะที่มีแต่ความอ่อนแอและไม่เอาไหน เพราะยึดติดกับคำสาบาน  ภีษมะต้องคอยช่วยเหลือเขาอยู่ร่ำไป  สัตยวดีด้วยสัญชาตญาณของมารดา เข้าข้างบุตรของตนและเตือนภีษมะว่าวิจิตรวีรยะคือความรับผิดชอบของเขา  พอถึงวัยเติบโต ความปรารถนาของสัตยวดีและคำสัตย์ของภีษมะ,นำมาซึ่งผลหลายอย่าง เพื่อการอภิเษกสมรสของเจ้าชายที่อ่อนแอเช่นวิจิตรวีรยะ  สัตยวดีสั่งให้ภีษมะเดินทางไปสู่ขอบุตรสาวทั้ง3ของกษัตริย์แคว้นกาสี   ภีษมะได้ทำให้เกิดเรื่องที่มิได้เจตนาและมิอาจรู้ว่าได้ทำลายความรักของอัมพาและมหาราชย์ศาลวะ ความอับอายนี้ทำให้นางโกรธแค้นและนำไปสู่การต่อสู้กันระหว่างปรศุรามและภีษมะ อาจารย์และศิษย์  จนมหาเทพได้ปรากฎกายขึ้นและยุติการต่อสู้ในครั้งนี้ อัมพาผู้ที่ตกอยู่ในความเจ็บปวดภาวนาและวิงวอนต่อองค์มหาเทพศิวะ   มหาเทพตอบเพียงว่าหลังจากยี่สิบห้าปี,นางจึงจะได้รับความช่วยเหลือ   นางจึงบูชายัญตัวเองเป็นการตอบโต้


ต่อมา วิจิตรวีรยะตายไปโดยไม่มีลูกสืบวงศ์ต่อ ในขณะที่ภีษมะเองก็ถือคำสัตย์สาบานจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับผู้หญิง ทำให้พระนางสัตยวดีต้องไปขอร้องให้วยาสซึ่งเป็นลูกนอกสมรสที่เกิดกับฤาษีปราศร ตั้งแต่ยังไม่ได้กับท้าวศานตนุ ซึ่งบวชเป็นฤาษีให้มาช่วยเป็นต้นเชื้อเพื่อมิให้สิ้นราชวงศ์ ฤาษีวยาสซึ่งมีรูปร่างหน้าตาน่าเกลียดและสกปรกรกรุงรังยอมตกลงมามีความสัมพันธ์กับเมียหม้ายของวิจิตรวีรยะทั้งสองคน คนแรกตอนมีความสัมพันธ์กันนั้นนอนหลับตาด้วยความขยะแขยงลูกที่ออกมาจึงตาบอดและมีชื่อว่า ธฤตราษฎร์ ส่วนคนที่สองตอนมีความสัมพันธ์กัน แม้ไม่ได้หลับตาแต่ก็กลัวจนเนื้อตัวซีดขาวไปหมด ลูกที่ออกมาจึงไม่แข็งแรงและมีเนื้อตัวซีดขาวตามไปด้วย เด็กคนนี้มีชื่อว่า ปาณฑุ


ฤาษีวยาสยังไปมีความสัมพันธ์กับคนรับใช้ในราชสำนัก แบบเผื่อเหลือเผื่อขาดเอาไว้อีกคน สำหรับรายนี้ซึ่งมีความสัมพันธ์กันปกติและไม่ได้รังเกียจอะไรลูกที่ออกมาจึงเป็นปกติมีชื่อว่า วิฑูรเมื่อลูกชายสามคนของฤาษีวยาสโตขึ้น เจ้าชายปาณฑุขึ้นครองราชย์เป็นพระราชาแคว้นกุรุเมื่อถึงวัยอันควร ตามลำดับ ต้องเป็นธฤตราษฎร์ลูกคนโต แต่ด้วยความเหมาะสม เนื่องจากธฤตราษฎร์ตาบอด บัลลังก์จึงตกแก่น้องชาย เป็นเหตุให้มีการผิดใจกันอยู่กลายๆภีษมะซึ่งทำหน้าที่อภิบาลร่วมกับพระนางสัตยวดีได้จัดการให้หลานชายทั้งสองคนแต่งงาน เจ้าชายคนที่ตาบอดแต่งงานกับเจ้าหญิงคานธารี คานธารีเมื่อเห็นว่าพระสวามีตาบอดจึงปิดตาเพื่อจะได้เข้าใจในความทุกข์ของสวามีโดยให้สัตจะว่าจะไม่เปิดผ้าปิดตาออกอีกตลอดไป


และมีลูกด้วยกัน 100 คน  ลูกชายคนโตชื่อ ทุรโยธน์   ส่วนเจ้าชายปาณฑุมีเมียสองคน เมียคนแรกชื่อ กุนตี ซึ่งก่อนจะมาแต่งงานด้วยความไม่รู้ หลังจากได้พรในการขอบุตรจากเทพ ทำให้นางได้ขอบุตรจากเทพพระอาทิตย์ชื่อว่า กรรณะ การเชิญเทพของนางในครั้งนี้เกิดด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่ทันได้นึกถึงผลที่ตามมา เลยทำให้ต้องทิ้งลูกชายไปเพราะเป็นบุตรที่เกิดโดยที่นางยังไม่มีสวามี แล้วมาแต่งงานกับเจ้าชายปาณฑุ


ส่วนเมียคนที่สองชื่อ มัทรี แต่ก็เกิดเหตุแห่งคำสาปแช่งทำให้ไม่สามารถมีบุตร จึงสละราชย์ไปอยู่ในป่า


และได้ขอลูกจากเหล่าเทพด้วยพรของกุนตีมีลูกด้วยกันสามคน  คือ ยุธิษฐิระ เป็นลูกที่เกิดจากธรรมเทพ ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความยุติธรรม ภีมะเป็นลูกที่เกิดจากเทพวายุ อรชุนเป็นลูกที่เกิดจากพระอินทร์ ส่วน มัทรี นั้นได้ขอให้กุนตีให้พรนั้นแก่ตนบ้างจึงได้มีลูกแฝดชื่อ นุกุล กับ สหเทพ เกิดจาก  เทพแฝดคือ เทพอัศวิน


แต่แล้วเจ้าชายปานฑุพระชนมายุไม่ยืนสิ้นพระชนม์ไปก่อนเวลาอันควร ทำให้ราชสมบัติที่ได้ตกเป็นของพี่ชายคือเจ้าชายธฤตราษฎร์ไปและเคยมีข้อตกลงเป็นนัยว่าจะส่งมอบราชสมบัติให้กับลูกของเจ้าชายปาณฑุกลับคืนไปเมื่อถึงเวลาอันควร ด้วยเหตุนี้ลูกทั้งห้าของพระราชาปาณฑุและลูกทั้งร้อยของพระราชาธฤตราษฎร์จึงได้รับการเลี้ยงดูภายในราชสำนักกรุงหัสตินาปุระแบบโตมาด้วยกันแต่น่าเสียดายว่าได้เกิดความบาดหมางระหว่างลูกพี่ลูกน้องตั้งแต่วัยเยาว์ ซึ่งน่าจะเป็นเพราะเรื่องในอนาคตว่าฝ่ายใดจะได้ขึ้นมาเป็นกษัตริย์ ลูกของท้าวปาณฑุหรือว่าลูกของท้าวธฤตราษฎร์เป็นสำคัญ. . . . ช่วงเยาว์วัยถึงวัยหนุ่มของเหลาเจ้าชาย ''มหาภารตะ''  ใน '' มหาภารตะชุดที่ 2  '' ภีษมะตอนนี้ทรงชราภาพแล้วเข้ามารับผิดชอบอบรมเลี้ยงดูภราดาทั้งสองกลุ่ม เจ้าชายทั้งสองฝ่ายนี้ต่างก็เอาแต่แข่งขันต่อสู้กันอยู่ตลอดเวลา พยายามแม้กระทั่งสังหารอีกฝ่าย วันหนึ่งโทรณะ ครูและผู้ชำนาญสรรพาวุธ ปรากฏตัวขึ้นและเสนอตัวเข้ามาสอนเจ้าชายน้อยทั้งปวง โทรณะมีภารกิจลับนั่นคือการแก้แค้นการดูถูกเหยียดหยามที่เพื่อนเก่าคนหนึ่งกระทำไว้แก่ตนขณะยังหนุ่ม ในการอบรมเจ้าชายทั้ง 105 คน นั้นทั้งหมดตกอยู่ภายใต้การอำนวยของท้าวภีษมะที่เป็นปู่โดยมีอาจารย์สองคนทำหน้าที่เป็นผู้สอนศิลปะวิทยาการแขนงต่างๆให้ นั่นก็คือ กฤปาจารย์ และ โทรณาจารย์ ในการนี้ยังมีเด็กชายอีกคนที่มิใช่ลูกหลานกษัตริย์โดยตรงเข้าร่วมเรียนด้วย คือ อัศวถามา ซึ่งเป็นลูกชายของโทรณาจารย์


ในการอบรมศิษย์ทั้งหลายนั้น โทรณาจารย์ก็เฝ้าจับตาดูความก้าวหน้าของเหล่าศิษย์ก็พบว่ามีราชกุมารพระองค์หนึ่งมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ศิลปวิทยาที่สั่งสอนได้รวดเร็วยิ่งกว่าราชกุมารพระองค์อื่น ราชกุมารพระองค์นั้นคือ ''อรชุน'' ด้วยเหตุนี้จึงกลายเป็นศิษย์เอก


และโดยการช่วยชีวิตของโทรณาจารย์จากภยันตราย  แสดงให้เห็นถึงความไม่กลัวตายของเขาในการอุทิศตน ความประทับใจในทักษะและการอุทิศตนของเขา,โทรณาจารย์ ตัดสินใจที่จะทำให้อรชุนเป็นมือธนูที่ดีที่สุดในโลกา ในขณะเดียวกัน กรรณะพยายามหาอาจารย์ที่จะสอนวิชาให้กับตนแต่เพราะการแบ่งชนชั้นวรรณะ ทำให้กรรณะต้องฝ่าความฝันเพียงลำพัง และโกหกวรรณะตัวเองต่อปรศุราม เพื่อพิสูจน์ว่าเขาคือมือธนูที่ดีที่สุดในโลกาเวลาผ่านมาจนจบการเล่าเรียนโทรณะจัดเวทีแข่งขันเพื่ออวดทักษะของปาณฑพและเการพแต่ละองค์ จนการต่อสู้มาถึงอรชุนและทุรโยธน์ กับมีบุรุษแปลกหน้าคนหนึ่งกลับปรากฏกายขึ้นมาท้าทายอรชุนและมีฝีมือเชิงธนูทัดเทียมกับอรชุน


บุรุษคนนี้คือ กรรณะ ที่ผู้อ่านทราบมาแล้วว่าเป็นโอรสองค์แรกของกุนตี เกิดแต่สูรยเทพหรือเทพแห่งตะวัน พระนางกุนตีมีความจำเป็นก่อนอภิเษกสมรสกับปาณฑุ จึงลอยกรรณะไปในตระกร้ากับสายน้ำดังนั้น กรรณะจึงเป็นเชษฐาองค์โตของภราดาปาณฑุนั่นเองอย่างไรก็ตามกรรณะไม่ทราบว่ามารดาที่แท้จริงของตนเป็นใคร สารถีเก็บได้แล้วนำไปเลี้ยงจนเติบโต เหล่าปาณฑพไม่เห็นด้วยกับการประลองเพราะสถานภาพทางสังคมอันต่ำต้อยของกรรณะและจะไม่ทรงต่อสู้กับใครก็ตามที่ไม่มีพระชาติ เป็นขัตติยะมาตั้งแต่เกิด


แต่ทุรโยธน์ลูกพี่ลูกน้องของภราดาปาณฑพเล็งเห็นโอกาสสร้างพันธมิตรกับกรรณะ โดยไม่ใส่ใจต่อกฎอันเข้มงวดแห่งวรรณะ  ทุรโยธน์ยกอาณาจักรเล็กๆแห่งหนึ่งให้แก่กรรณะ ทำให้กรรณะซาบซึ่งใจจึงสาบานเป็นมิตรกับเหล่าเการพตลอดไปในเวลาต่อมาเมื่อท้าวธฤตราษฎร์ทรงจะแต่งตั้งมกุฎราชกุมาร ที่จำเป็นต้องตกแก่เหล่าปานฑพ แต่เกิดความลำเองในใจโทรณาจารย์จึงขอให้ศิษย์ของตนได้ ไปทำศึกกับมหาราชย์แห่งปัณจาละ  เพื่อตอบแทนอาจารณ์และหาผู้เหมาะสมกับ มกุฎราชกุมาร สุดท้ายก็เป็นเหล่าปาณฑพที่ทำการสำเร็จก็แต่งตั้งให้ยุธิษฐิระพี่ชายคนโตของพวกปาณฑพขึ้นเป็นมกุฎราชกุมารแห่งแคว้นกุรุมีสิทธิในการขึ้นครองราชย์ แต่เดิมของท้าวปานฑุ ผลจากการนี้ทำให้พวกปานฑพยิ่งได้รับการยกย่องนับถือและมีอำนาจมากขึ้น การวางแผนเพื่อจะทำลายล้างพวกปาณฑพ โดยทุรโยธน์พี่ชายคนโตของพวกเการพ เป็นต้นคิดก็เกิดขึ้นโดยมีน้องชายคนสำคัญคือ ธุชาศันย์และลุงของพี่น้องเการพคือ ท้าวศุกุนิพี่ชายของพระนางคานธารี ซึ่งเป็นมีเล่ห์เหลี่ยมร้ายกาจและเป็นจอมวางแผนให้ รวมทั้งยังมีกรรณะเป็นคนให้การสนับสนุนเป็นสำคัญรวมอยู่ด้วย แผนการสังหารพวกพี่น้องปาณฑพถูกวางเอาไว้อย่างแยบยล ด้วยการให้มีการสร้างบ้านรับรองที่ทำด้วยขี้ผึ้งติดไฟง่ายรอท่าไว้ และหลังจากนั้นก็ไปเชื้อเชิญให้เจ้าชายปาณฑพทั้งห้าพร้อมกับพระนางกุนตีไปพักผ่อน


เมื่อพวกปาณฑพเข้าไปพักก็ตัดการวางเพลิงเพื่อหวังให้ไฟคลอกตายทั้งเป็น เผอิญว่าวิฑูรเป็นผู้เป็นอาทราบข่าวแผนการลอบสังหารนี้ก่อน จึงได้แจ้งเตือนล่วงหน้าทำให้พวกปาณฑพหนีตายรอดชีวิตไปได้อย่างหวุดหวิด ทั้งหมดหลบหนีไปทางใต้ดินที่ขุดเอาไว้และไปอาศัยอยู่ในป่า พวกเจ้าชายฝ่ายเการพต่างก็คิดว่าแผนการทั้งหมดลุล่วงไปด้วยดีถึงขนาดจัดให้มีการทำพิธีพระศพให้ เรื่องราวของ ''มหาภารตะชุดที่ 3''  หลังจากเหล่าปาณฑพหนีตายรอดชีวิตไปได้อย่างหวุดหวิด ทั้งหมดหลบหนีไปทางใต้ดินที่ขุดเอาไว้และไปอาศัยอยู่ในป่า พวกเจ้าชายฝ่ายเการพต่างก็คิดว่าแผนการทั้งหมดลุล่วงไปด้วยดีถึงขนาดจัดให้มีการทำพิธีพระศพให้


ทางด้านท้าวทรุปัทซึ่งเป็นพระราชาแคว้นปัญจาละ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยทำศึกแพ้อรชุนเพื่อแก้แค้นให้โทรณาจารย์ที่เคยเป็นสหายกันสมัยเรียนหนังสือ แต่กลับคำไม่ยอมให้ความช่วยเหลือเมื่อโทรณาจารย์เดินทางไปขอความช่วยเหลือ หลังจากเลิกรากันไปแล้ว เนื่องจากพระองค์และมเหสีมีพระธิดาองค์เดียวคือ "ชิกานดินี" (ชิกานดินีเป็นหญิงแต่จิตใจเป็นชาย ถูกเลี้ยงเเบบชายตั้งแต่เด็กๆ)


จึงได้ขอร้องให้พระฤาษีอันมีพลังแก่กล้าช่วยทำพิธียาจนาเพื่อขอบุตร   ออกมาจากกองไฟ. . . ทันทีที่พิธีสำเร็จก็มีชายคนหนึ่งผุดขึ้นมาจากกองไฟ ท้าวทรุปัทรับไว้เป็นโอรสของตน โอรสให้นามว่า ''ธฤษฏะทยุมัน''


แต่ฤาษีต้องให้ธิดาเพิ่มตามชะตาทำให้ทรุปัทไม่พอใจเพราะอยากได้แค่โอรสเลยขอพรแปลกๆลงไป(ติดตามได้ในหนังนะครับ)จนเกิด ธิดาให้นามว่า ''เทราปตี'' หรืออีกนามว่า ''กฤษณา'' แต่ด้วยกำเนิดจากความไม่ต้องการ เทราปตีจึงไม่ได้ความรักจากบิดา ทำให้เกิดเหตุการณ์ที่ได้พบกับกฤษณะแล้วได้กฤษณะช่วยจนได้เป็นเหมือนดั่งสหายกัน


ส่วนพวกปาณฑพที่ไปอยู่ในป่าก็ถูกพวกอสูรวริโกดาที่อาศัยอยู่ในป่าโดยการนำของ อสูรฮิดิมมุ่งหมายจะสังหาร แต่ว่าภีมะสามารถเอาชนะพวกอสูรและฆ่าอสูรฮิดิมผู้เป็นหัวหน้าได้จนได้เป็นราชาอสูรและยังแต่งงานกับน้องของหัวหน้า ''อสูรฮิดิมบา'' ที่เผอิญมาชอบพอกัน และในภายหลังมีลูกชายด้วยกันหนึ่งคนชื่อว่า ''กาโตคชา''มาบัดนี้ท้าวทรุบทได้จัดพิธีสยุมพรให้กับลูกสาวคือเจ้าหญิงเทราปตีจากคำแนะนำของกฤษณะสำหรับพิธีสยุมพรนั้นเป็นการแต่งงานตามประเพณีเดิมของอินเดียโบราณ ที่เปิดโอกาสให้เจ้าสาวสามารถเลือกว่าที่เจ้าบ่าวที่ได้รับการเชื้อเชิญมาให้เลือกได้ พวกเจ้าชายปาณฑพซึ่งได้รับการแนะนำจากพราหมณ์ให้เดินทางไปยังเมืองหลวงของแคว้นปัญจาละ เพื่อร่วมพิธีสยุมพรครั้งนี้ด้วยเพียงแต่ไปในคราบของพราหมณ์



ณ ที่นั้นบรรดาเจ้าชายเการพและเจ้าชายจากแว่นแคว้นอื่นๆ ก็มารวมตัวกันเพื่อให้เจ้าหญิงเทราปตีเลือกคู่รวมอยู่ด้วย เมื่อถึงเวลาเจ้าชายธฤตทยุมัน ซึ่งเป็นพี่ชายของเจ้าหญิงเทราปตีก็ประกาศต่อที่ประชุมว่า ถ้าหากเจ้าชายคนไหนสามารถใช้คันธนูขนาดใหญ่ของท้าวทรุปัทผู้บิดายิงลูกศรไปยังเป้าหมายที่วางเอาไว้ได้อย่างแม่นยำ ก็จะได้เจ้าหญิงเทราปตีไปครอง ปรากฎว่าบรรดาเจ้าชายหลายต่อหลายคนได้พยายามยกคันธนูและยิงลูกศรไปยังเป้าหมายที่จัดเตรียมเอาไว้ แต่ปรากฏว่าไม่สำเร็จแม้แต่คนเดียว จนกระทั่งเหลือกรรณะเป็นคนสุดท้ายที่จะออกมาแสดงฝีมือให้เห็น แต่ก่อนที่กรรณะจะแสดงฝีมือให้ปรากฏ ทางเจ้าหญิงเทราปตี ซึ่งรู้ว่ากรรณะคงสามารถทำได้เป็นแน่ ก็ประกาศว่าจะไม่ยอมรับลูกของสารถีมาเป็นสามีเมื่อกรรณะได้รับการปฏิเสธและบรรดาเจ้าชายจากแว่นแคว้นต่างๆ ไม่มีใครสามารถทำได้ตามที่เจ้าชายธฤตทยุมน์ประกาศ คราวนี้ก็มาถึงกลุ่มของพวกพราหมณ์ที่เข้ามาร่วมในพิธีสยุมพรปรากฎว่าในกลุ่มของพราหมณ์นั้นมีชายหนุ่มคนหนึ่งลุกขึ้นมาจากแถว ผู้แต่งตัวเป็นพราหมณ์คนนั้นก็คือ อรชุน


และเป็นไปตามที่คาดหมายคืออรชุนสามารถแสดงฝีมือยิงธนูได้ตรงเป้าหมายตามกติกา เจ้าหญิงเทราปตีก็เข้ามาสวมพวงมาลัยคล้องคอให้อันเป็นการยอมรับและการตัดสินใจเลือกสามีของนางเป็นที่สุด
ทำให้บรรดาเจ้าชายที่ยังอยู่ในมณฑลพิธีต่างก็ไม่พอใจและพยายามจะรุมสังหารท้าวทรุปัทที่เรียกมาทำให้ขายหน้า แต่ว่าภีมะและอรชุนได้เข้ามาช่วยท้าวทรุบท หลังจากนั้นเจ้าชายปาณฑพทั้งห้าพร้อมกับเจ้าหญิงเทราปตีก็เดินทางกลับไปยังบ้านพัก ซึ่งที่นั่นพระนางกุนตีได้เพลอพูดโดยไม่ได้มองว่าอรชุนได้สิ่งใดมา ''นี่เป็นคำสั่งของข้า  ไม่ว่าสิ่งใดที่อรชุนได้รับมา   พวกเจ้าต้องแบ่งเท่าๆกัน'' ทำให้พระนางกุนตีต้องขอให้เจ้าหญิงเทราปตีรับเป็นภรรยาของเจ้าชายปาณฑพทั้งห้าในเวลาเดียวกัน


โดยผลจากากรนี้ทำให้การซ่อนตัวของเจ้าชายปาณฑพทั้งห้าไม่เป็นความลับอีกต่อไป ท้าวธฤตราษฎร์พระราชาแห่งแค้วนกุรุที่เป็นลุงจึงได้เชื้อเชิญให้เดินทางกลับไปยังกรุงหัสตินาปุระ พร้อมกันนั้นก็เกิดเรื่องราวของการดูหมิ่นเทราปตีจนทำให้เหล่าปานฑพขอแบ่งอาณาจักรแคว้นกุรุไปปกครองเอง เหล่าเจ้าชายปาณฑพซึ่งก่อตั้งอาณาจักรของตัวเองโดยมีกรุงอินทรปรัสถ์เป็นเมืองหลวงประสบความสำเร็จขยายอำนาจและอิทธิพลของตนออกไปได้ มีประชาชนและผู้คนให้การสนับสนุนเป็นจำนวนมาก และในที่สุดยุธิษฐิระก็ประกาศสถานภาพของตนว่าบัดนี้ได้เป็นจักรพรรดิแล้ว อันมีความหมายว่าเป็นพระราชาผู้ยิ่งใหญ่เหนือพระราชาแว่นแคว้นอื่น


ในการนี้ทางราชสำนักกรุงอินทรปรัสถ์ได้เชื้อเชิญพระราชาจากแว่นแคว้นใกล้เคียงกัน ให้มาร่วมพิธีบวงสรวง ราชศูรยะ เพื่อเฉลืมพระเกียรติ การดำเนินการดังกล่าวของพวกปาณฑพเป็นไปท่ามกลางความอิจฉาริษยาและเกลียดชังของพวกเการพเป็นอันมาก และเพื่อเป็นการตอบโต้และลดทอนอิทธิพลของพวกปาณฑพ ท้าวศกุนิผู้เป็นลุงของทุรโยธน์ ได้แนะนำให้ใช้วิธีเชิญท้าวยุธิษฐิระมาเล่นเกมทอดสกาพนันกัน เพราะศกุนิซึ่งได้ชื่อว่าเป็นคนมีวิชาในการเล่นสกา เชื่อว่าตัวเองจะเอาชนะและสร้างความอับอายให้กับพวกปาณฑพได้


มหาราชธฤตราษฎร์ผู้เป็นพ่อของทุรโยธน์ ได้รับการร้องขอให้เอ่ยปากชวนยุธิษฐิระมาเล่นสกากัน แม้ว่าในตอนแรกท้าวธฤตราษฎร์จะไม่ค่อยเห็นด้วยกับเล่ห์กลดังกล่าว แต่ในที่สุดก็ทำตามคำขอร้องของทุรโยธน์ โดยให้ท่านวิฑูรเป็นคนเชิญให้ยุธิษฐิระมาเล่นสกากันที่กรุงหัสตินาปุระการเล่นทอดสกาเกิดขึ้นภายในอาคารที่ประชุมที่เรียกว่า สภา และเรื่องสำคัญเกิดขึ้น ณ ที่แห่งนี้จึงทำให้ตอนนี้ ของมหากาพย์มหาภาระมีชื่อว่า สภาตอน ในการเล่นทอดสกาเพื่อพนันขันต่อกันนั้น ปรากฎว่ายุธิษฐิระปราชัยอย่างย่อยยับต้องเสียทรัพย์สมบัติ อัญมณี เครื่องประดับที่มีค่า รถม้าศึก ข้าทาสบริวาร ช้างม้า และในท้ายที่สุดยุธิษฐิระได้ขอเดิมพันด้วยอาณาจักรที่ตนเองปกครอง ซึ่งก็เสียพนันอีก ยุธิฐิระซึ่งบัดนี้ตกอยู่ในภาวะอันบ้าคลั่งของการพนันขันต่อก็เอาตัวเองและพี่น้องปาณฑพอีกสี่คนเป็นเดิมพัน


แต่ก็แพ้อีกและถูกยั่วยุจากทุรโยธน์กับศกุนิให้ใช้พระนางเทราปตีเป็นเดิมพัน ยุธิษฐิระต้องการเอาชนะให้ได้ ก็ตงลงเดิมพันด้วยพระนางเทราปตีและต้องพ่ายแพ้อีกครั้งหนึ่ง เมื่อพ่ายแพ้ ทุรโยธน์ก็บังคับให้ส่งตัวพระนางเทราปตีซึ่งมีฐานะเป็นทาสจากการพนันให้ แต่พระนางเทราปตีไม่ยอมมาปรากฏตัว ทำให้ทุหศาสันลุแก่โทสะไปจิกหัวลากตัวมาจากที่พักและนำตัวมายังที่ประชุมในสภา ทั้งยังดึงเสื้อผ้าของนางออกแต่ได้มนต์ของกฤษณะช่วยไว้ทำให้ผ้าที่ดึงยาวจนไม่หลุดออกจากตัวเทราปตี


แต่การกระทำย่ำยีครั้งนี้ทำให้ภีมะทนไม่ได้ประกาศก้องกลางที่ประชุมให้สัตย์สาบานว่าจะฉีกอกทุหศาสันเพื่อดื่มเลือดสดๆ ถ้าหากจะต้องทำสงครามล้างอายในวันข้างหน้า ส่วนทุรโยธน์ซึ่งล่วงเกินพระนางเทราปตี โดยบังคับให้มานั่งบนตักนั้น ภีมะก็ประกาศว่าจะล้างแค้นด้วยการจะใช้คทาทุบสะโพกของทุรโยธน์ให้หักสะบั้น เมื่อเหตุการณ์รุนแรงลุกลามบานปลายมาจนถึงขั้นนี้ มหาราชธฤตราษฎร์ก็เข้ามาไกล่เกลี่ยตามคำร้องขอของพระนางเทราปตี มหาราชธฤตราษฎร์ให้ยุติการเล่นพนันกินบ้านกินเมืองแล้วสั่งให้ทุรโยธน์ส่งมอบทุกสิ่งทุกอย่างที่ยุธิษฐิระแพ้พนันกลับคืนให้จนหมดสิ้นเพื่อให้เลิกแล้วต่อกัน แต่ทุรโยธน์ซึ่งยังไม่หายแค้นก็ยังดันทุรังขอให้มหาราชธฤตราษฎร์ผู้เป็นบิดาซึ่งเป็นคนอ่อนไหวโลเล และตามใจลูกชายให้เชิญยุธิษฐิระมาเล่นพนันทอดสกาเป็นครั้งสุดท้าย คราวนี้ตกลงกันว่าถ้าหากใครแพ้คนนั้นจะต้องลี้ภัยเป็นเวลาสิบสองปี และจะต้องซ่อนตัวไม่ให้ใครพบเห็นในปีที่สิบสามอีกหนึ่งปี ก่อนจะกลับมาอยู่อย่างปกติในปีที่สิบสี่


ยุธิษฐิระแพ้พนันและต้องลี้ภัยตามข้อตกลงที่ทำไว้กับทุรโยธน์ และเรื่องราวระหว่างอยู่ในป่ารวมไปถึงความตายของพี่น้องปานฑพสี่คน เพราะไปดื่มน้ำที่มียาพิษเดือดร้อนถึงยุษฐิษระต้องไปร้องขอชีวิตคืน ด้วยการตอบคำถามของยักษ์ที่เป็นเจ้าของสระน้ำ ติดตามเรื่องราวอันปวดใจจากการถูกหยามเกียรติในครั้งนี้ได้ใน ''มหาภารตะ ชุดที่ 4''  รับรองว่าต้องทำให้คุณต้องเสียน้ำตาอย่างมากมายแน่นอน  เรื่องราวของ ''มหาภารตะชุดที่ 5'' เป็นชุดสำคัญและรวบรวมเรื่องราวสำคัญไว้อัดแน่น เรื่องราวในชุดที่5 มีหลายตอนหลักๆ ช่วงต้นมีชื่อเรียกว่า วนตอน อันเป็นเรื่องราวของการใช้ชีวิตในป่าของพวกปาณฑพหลังจากแพ้พนันสกาต่อพวกเการพ ดำเนินเรื่องต่อจากชุดที่ 4 และว่ากันว่าเป็นตอนที่มีความยาวที่สุด พิสดารด้วยรายละเอียดแทรกตำนานต่างๆ ไว้มากมายนั้น เริ่มจากพวกปาณฑพต้องลี้ภัยไปอยู่ท่ามกลางความเสียหายของประชาชนที่นิยมชื่นชอบ ในระหว่างที่กำลังจะเดินทางไปลี้ภัยในป่า ท้าววิฑูรพยายามอย่างหนักให้ท้าวธฤตราษฎร์ยกเลิกข้อตกลงดังกล่าวและให้เรียกตัวกลับมาแต่ไม่เป็นผลเมื่อพวกปาณฑพไปอาศัยอยู่ในป่ามีพรรคพวกไปเยี่ยมกันไม่ขาดโดยเฉพาะกฤษณะเองก็ไปเยี่ยมพวกปาณฑพถึงในป่าด้วย พร้อมกับกระตุ้นปลุกใจให้พวกปาณฑพทำสงครามเพื่อยุติข้อขัดแย้งกับพวกเการพข้อเสนอของกฤษณะได้รับการสนับสนุนจากพระนางเทราปตีและภีมะ แต่ยุธิษฐิระปฏิเสธและยืนยันขอทำตามสัญญาที่ให้เอาไว้


วันหนึ่งมีฤาษีชื่อ พฤหัสทัศวะ ได้มาเยี่ยมและได้ถือโอกาสเล่าเรื่อง พระนลกับพระนางทมยันตีให้ฟัง เพื่อเป็นอุทาหรณ์สอนใจให้อดทนต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ตำนานความรักระหว่างพระนลกับทมยันตีนั้นเป็นเรื่องราวของความรัก ซึ่งพระนลต้องได้รับความยากลำบากเพราะมีนิสัยชอบเล่นการพนันทอดสกาเหมือนกับยุธิษฐิระ โดยมีนางทมยันตีคอยให้ความช่วยเหลือเป็นกำลังใจและอดทนก่อนที่เรื่องจะจบลงด้วยดีในตอนท้าย ในระหว่างที่อยู่ในป่า พวกปาณฑพได้มีโอกาสไปเยี่ยมสถานที่อันเคยเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในอดีตเป็นจำนวนมาก และมีโอกาสได้ฟังเรื่องราวในอดีตจากบรรดาผู้บำเพ็ญพรตในป่าหลายต่อหลายเรื่อง รวมทั้งที่ต้องเผชิญกับการคุกคามของพวกอสูรในป่าหลายต่อหลายครั้ง แต่ภีมะก็อาศัยพละกำลังแก้ไขสถานการณ์ได้ตามลำดับ ทางด้านอรชุนเมื่อจบการเดินทางอันยาวนานก็เดินทางกลับมาสมทบกับพี่น้องปาณฑพอีกครั้งหนึ่ง หลังจากได้อาวุธวิเศษไว้ในครอบครองเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้พวกปานฑพยังได้มีโอกาสไปพำนักในสวนของท้าวกุเวรเป็นเวลาต่อเนื่องยาวนานถึงสี่ปีเต็ม ก่อนจะเดินทางกลับมาพำนักอยู่ในป่าแต่เดิมที่เคยอาศัยอยู่ และที่นั่นพวกปาณฑพยังได้ฟังเรื่องราวตำนานในอดีตที่มีคติสอนใจในเรื่องต่างๆ จากพวกฤาษีนักพรต ซึ่งแต่ละคนก็มีความกระตือรือร้นที่จะสอนพวกปาณฑพการใช้ชีวิตในป่าสำหรับพวกปาณฑพก็ไม่ต่างจากการได้ฝึกอบรมบ่มเพาะจิตใจของตัวเองพร้อมกับได้เรียนรู้เรื่องที่จำเป็นที่จะทำหน้าที่เป็นผู้นำที่ดีในอนาคตไปพร้อมๆกันด้วย ถือว่าเป็นช่วงเวลาแห่งการเตรียมความพร้อมที่สำคัญมาก ในช่วงเวลาสิบสองปีของการอยู่ในป่าของพวกปาณฑพและพระนางเทราปที จะมีเรื่องเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว และครั้งหนึ่งท้าวชยัทรัถพระราชาแห่งแคว้นสินธุได้มาลักพาตัวพระนางเทราปทีไป เดือดร้อนให้พวกปาณฑพต้องไปช่วยเหลือนำตัวกลับคืนมา


ไม่ต่างจากตำนานของพระรามกับนางสีดาในมหากาพย์รามารณะ พร้อมกันนั้นฤาษีที่อาศัยร่วมกันในป่ายังได้เล่าถึงตำนานของพระนางสาวิตรีซึ่งมีความมั่นคงในความรักต่อสามีคือท้าวสัตยถาวร ถึงขั้นสามารถดึงรั้งชีวิตของท้าวสัตยวารกลับจากเงื้อมมือของพญายมได้เป็นผลสำเร็จและเรื่องราว ที่รู้จักกันในชื่อว่า วิราฏตอน เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นภายในอาณาจักรแคว้นมัสยะของท้าววิราฎ จึงทำให้เรียกเรืองราวตามชื่อของพระราชาคนสำคัญคนนี้โดยเรื่องดำเนินต่อจาการลี้ภัยในป่าในวนตอนว่า ในที่สุดการลี้ภัยในป่าเป็นเวลาสิบสองปีก็ครบกำหนด แต่ว่าตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ พวกปาณฑพจะต้องซ่อนตัวไม่ให้ใครจำได้อีกเป็นเวลาสิบสองเดือนถึงจะถือว่าทำครบถ้วนตามสัญญาพวกปาณพพเดินทางออกจากป่ามุ่งไปยังแคว้นมัสยะ แต่ก่อนจะถึงแคว้นมัสยะ ทั้งหมดได้เก็บซ่อนอาวุธไว้ในสุสานนอกเมือง


และเข้าไปในแคว้นมัสยะเพื่อทำงานในราชสำนักของท้าววิราฎ ดดยยุธิษญิระทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของท้าววิราฎ ภีมะเป็นคนทำครัว อรชุนเป็นครูสอนเต้นระบำ ส่วนกุลไปเป็นคนเลี้ยงม้า ในขณะที่สหเทพเป็นคนเลี้ยงวัว สำหรับพระนางเทราปทีไปเป็นนางกำนัลให้กับพระมเหสีของท้าววิราฎในระหว่างที่อยู่ในราชสำนักเกิดเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่ง เมื่อน้องชายของพระมเหสีท้าววิราฎมาล่วงเกินพระนางเทราปที เดือดร้อนถึงภีมะซึ่งเป็นนักมวยปล้ำต้องเข้ามาช่วยสังหารน้องชายของพระมเหสีท้าววิราฎตายไป แต่ถึงกระนั้น การปลอมตัวของพวกปาณฑพในราชสำนักแคว้นมัสยะก็ยังไม่เป็นที่รู้กัน จนกระทั่งเกิดสงครามระหว่างแคว้นมัสยะกับแคว้นกุรุ พวกพี่น้องปาณฑพได้เข้าร่วมรบทำสงครามจนมีชัยชนะต่อกองทัพจากแคว้นตรีครรตะและแคว้นกุรุ ซึ่งมีทุรโยธนพี่ชายคนโตของพี่น้องเการพนำทัพมาด้วยตนเอง เหตุการณ์นี้เป็นเหตุให้พวกปาณฑพต้องเปิดเผยตัวเอง เพราะเข้าร่วมทำสงคราม และบังเอิญว่าเกิดขึ้นในช่วงเกือบจะสิ้นปีที่สิบสามอันเป็นปีสุดท้ายของการซ่อนตัวอย่างยาวนาน ทำให้เกิดปมประเด็นปัญหาว่าได้ทำตามสัญญาครบถ้วนหรือเปล่า


แต่การเปิดเผยตัวของพวกปาณฑพ ก็ทำให้ท้าววิราฎยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้คบหากับพวกปาณพพ นอกเหนือจากมีส่วนร่วมช่วยรบจนสามารถป้องกันจากการโจมตีของข้าศึกได้ ถึงขนาดยกลูกสาวคือ เจ้าหญิงอุตตะระ ให้แต่งงานกับเจ้าชายอภิมันยุซึ่งเป็นลูกชายของอรชุนด้วย


และเรื่องราว ซึ่งมีชื่อเรียกว่า อุโทยคตอน อันมีความหมายว่าเป็นความพยายามที่จะมิให้พวกปาณฑพกับพวกเการพต้องทำสงครามกัน โดยดำเนินเรื่องต่อจากการเปิดเผยตัวของพวกปาณฑพทั้งๆที่ยังไม่ครบเวลาหนึ่งปีในช่วงซ่อนตัวปีที่สิบสาม ซึ่งถ้าหากทำตามสัญญาได้ครบก็สามารถเข้าไปครอบครองอาณาจักรแต่เดิมที่ยกให้ทุรโยธน์ไปได้ แต่ทางทุรโยธน์บอกว่าไม่ได้ทำตามสัญญา เพราะฉะนั้นพวกปาณฑพจะต้องลี้ภัยในป่าต่อไปอีกสิบสามปีเหมือนกับเริ่มนับหนึ่งใหม่ เรื่องนี้ไม่สามรถหาข้อยุติได้ต้องตัดสินด้วยการทำสงคราม


ในขณะที่ความพยายามจะหาทางตกลงเพื่อหลีกเลี่ยงสงครามดำเนินไปนั้น ต่างฝ่ายต่างก็พยายามก่อตั้งพันธมิตรเพื่อเตรียมทำสงครามใหญ่ กฤษณะเองได้รับการติดต่อจากสองฝ่ายเพื่อให้ร่วมกับฝ่ายตนและตกลงยกกองทหารของตนให้กับทุรโยธน์ไป ในขณะที่ตกลงให้คำแนะนำทำหน้าที่ปรึกษาและให้การสนับสนุนฝ่ายปาณฑพตามคำขอของอรชุน ท้าวศัลยะเข้าร่วมรบกับฝ่ายเการพ แม้จะมีฐานะเป็นลุงของฝ่ายปาณฑพโดยทำหน้าที่เป็นสารถีให้กับกรรณะ แต่ท้าวศัลยะก็รับปากกับยุธิษฐิระว่าแม้จะต้องทำหน้าที่เป็นสารถีบังคับรถม้าศึกให้กรรณะ แต่ก็จะพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อมืให้กรรณะได้เปรียบในการทำศึกในระหว่างการเจรจาเพื่อหาทางยุติสงคราม ทุรโยธน์ปฏิเสธที่จะทำข้อตกลงสันติภาพ แม้ว่าบรรดาผู้อาวุโสไม่ว่าจะเป็นท้าวธฤตราษฎร์ ผู้เป็นบิดาและพระนางคานธีผู้เป็นมารดาจะขอร้องก็ตามที ส่วนกฤษณะเองก็ใช้ความพยายามอย่างหนัก เพื่อชักชวนให้กรรณะมาอยู่ข้างฝ่ายปาณฑพเช่นเดียวกับพระนางกุนตีก็ยอมเปิดเผยตัวในระหว่างไปพบเป็นการส่วนตัวกับกรรณะ ว่าเป็นแม่ที่ให้กำเนิดเพื่อขอให้กรรณะย้ายข้างมาอยู่กับฝ่ายปาณฑพแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ กรรณะตัดสินใจอยู่กับฝ่ายเการพเพื่อย้ำมิตรภาพระหว่างตนกับทุรโยธน์ แม้จะรู้ความลับชาติกำเนิดแล้วว่าตนเองเป็นลูกพระอาทิตย์กับพระนางกุนตีก็ตามทีเมื่อถึงเวลากองทหารฝ่ายเการพและปาณฑพก็เดินทางเข้าสู่สมรภูมิรบที่ทุ่งกุรุเกษตร ทางฝ่ายปาณฑพมีธฤตทยุมน์เป็นผู้บัญชาการรบ ส่วนท้าวภีษมะรับหน้าที่เป็นผู้บัญชาการรบฝ่ายเการพถ้าหากสรุปรวมความแล้วก็ต้องถือว่าเรื่องราวที่ดำเนินมาตั้งแต่ชุดที่ 1 ถึงชุดที่ 5 นั้นเป็นการปูพื้นฐานให้คนอ่านได้เข้าใจว่า ทำไมพวกเการพกับพวกปาณฑพถึงต้องทำสงคราม และถ้าหากไม่ได้รู้เรื่องราวตั้งแต่ต้นและเข้าใจว่ามหากาพย์มหาภารตะเป็นเรื่องการทำสงครามของพี่น้องเการพและปาณฑพเท่านั้น ก็ต้องถือว่าพลาดในสาระสำคัญของมหากาพย์เรื่องนี้ไปอย่างน่าเสียดาย เพราะเรื่องการต่อสู้เพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่เป็นเรื่องปกติธรรมดาของมนุษย์หรือแม้แต่จะเป็นเรื่องการต่อสู้ระหว่างธรรมกับอธรรมก็เป็นเรื่องธรรมดาเช่นกัน เพราะมีตำนาน พงศาวดารหรือมหากาพย์เป็นจำนวนมาก ไม่ใช่เฉพาะของอินเดียที่บรรยายการต่อสู้ระหว่างมนุษย์ที่ต้องยุติด้วยการทำสงคราม ด้วยเหตุนี้เมื่อพิจารณาสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2   ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสรต์มนุษยชาติในคริสต์ศตวรรษที่ 20 แท้ที่จริงก็เป็นเรื่องซ้ำรอยเดิมกับสงครามที่ทุ่งกุรุในมหากาพย์มหาภารตะที่เกิดขึ้นมาก่อนหน้าประมาณสามสี่พันปี ในระหว่างนั้น ยุธิษฐิระได้แสดงความวิตกกังวลถึงความร้ายกาจของกรรณะเพราะรู้ว่ากรรณะได้รับของประทานจากเทพพระอาทิตย์โดยไม่มีใครสามารถทำลายชีวิตได้ ทำให้พระอินทร์ซึ่งได้รับคำแนะนำจากพราหมณ์ต้องดำเนินการแก้ไขปัญหานี้ โดยที่กรรณะได้รับคำเตือนจากเทพพระอาทิตย์ไว้ก่อนแล้ว ว่าพระอินทร์ปลอมตัวไปขอเสื้อเกราะและต่างหูที่เป็นอุปกรณ์รักษาชีวิตจากกรรณะ ทำให้กรรณะต้องคิดหนักในเรื่องนี้ ติดตามความเข้มข้นที่มาถึงจุดแตกหักกันถึงที่สุดแห่งมหากาพย์ได้ใน ''มหาภารตะ ชุดที่ 6'' เป็นชุดสำคัญและรวบรวมเรื่องราวสำคัญไว้อัดแน่น เรื่องราวในชุดที่ เป็นเรื่องราวต่อเนื่องจากการเสียเกราะและต่างหูให้กลับพระอินทร์ จนตนเองได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรงอแต่ก็ได้ความช่วยเหลือจากนุกูลและสหเทพ และในตอนต้น ซึ่งมีชื่อเรียกว่า ภีษมะตอน ถือว่าเป็นตอนทีเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามบนทุ่งกุรุเกษตร และด้วยเหตุที่ดำเนินไปโดยมีท้าวภีษมะเป็นตัวละครที่สำคัญที่สุดจึงได้ชื่อนี้เป็นชุดสำคัญและรวบรวมเรื่องราวสำคัญไว้อัดแน่น เรื่องราวในชุดที่ เป็นเรื่องราวต่อเนื่องจากการเสียเกราะและต่างหูให้กลับพระอินทร์ จนตนเองได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรงอแต่ก็ได้ความช่วยเหลือจากนุกูลและสหเทพ และในตอนต้น ซึ่งมีชื่อเรียกว่า ภีษมะตอน ถือว่าเป็นตอนทีเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามบนทุ่งกุรุเกษตร และด้วยเหตุที่ดำเนินไปโดยมีท้าวภีษมะเป็นตัวละครที่สำคัญที่สุดจึงได้ชื่อนี้



ในตอนนี้เองที่เรื่องราวอันเป็นบทสนทนาโต้ตอบที่มีความยาวประมาณ 18 บทซึ่งรู้จักกันในชื่อว่า ภควัทคีตา ได้สอดแทรกเข้ามาเป็นเนื้อหาหลัก เนื้อหาในบทสนทนาเป็นตอนที่กฤษณะสั่งสอนอรชุนมิให้ลังเลในการทำสงคราม แม้ว่าศัตรูจะเป็นญาติของตนก็ตามที บทสนทนาอันสวยสดงดงามและมีความยาวพอสมควร รวมถึงมีฉากในการแสดงร่างอวตารของมหาเทพ  การต่อสู้ซึ่งดำเนินไปเป็นเวลาสิบวัน มีเหตุให้วาสุเทพกฤษณะ ได้แสดงถึงอำนาจอีกครั้งโดยมีนักรบวีรชนคนกล้าของฝ่ายต่างรบกันอย่างเอาเป็นเอาตาย จนมีเหตุให้วาสุเทพกฤษณะ จนภีษมะว่าตนจะยุติการสู้รบวางอาวุธด้วยเหตุเดียวคือเมื่อเผชิญหน้ากับ ศิขัณฑิณ แล้วเมื่อนั้นจะวางอาวุธ



พวกปาณฑพอาศัยคำแนะนำของภีษมะดังกล่าว ดำเนินการให้ศิขัณฑิณเผชิญหน้ากับภีษมะ ภีษมะถูกลูกธนูของศิขัณฑิณได้รับบาดเจ็บสาหัสจนร้องขอหลานของตนเหล่าปานฑพให้ทำการปลดปล่อยตนและล้มลงนอนบนเตียงที่ทำจากลูกศรที่อรชุนยิงถล่มเข้าใส่ทั่วร่างกายนั่นเอง เรื่องราวมาจบลงตรงที่นักรบฝ่ายปาณฑพและเการพต่างไปชุมนุมเพื่อแสดงความเคารพต่อท้าวภีษมะที่นอนรอความตายอยู่บนเตียงลูกศรกลางสมรภูมิ เรื่องราวในตอนต่อมา ในชื่อเรียกว่า โทรณตอน ซึ่งเป็นเรื่องราวการทำสงครามบนทุ่งกุรุเกษตรต่อไป และเนื่องจากโทรณาจารย์ทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการรบฝ่ายเการพแทนท้าวภีษมะ จึงเป็นตัวละครที่มีบทบาทมากที่สุดตามการเรียกขานชื่อนี้นั่นเองเรื่องราวดำเนินต่อไป เมื่อโทรณาจารย์รับช่วงต่อจากท้าวภีษมะเป็นผู้บัญชาการรบฝ่ายเการพ ในการทำศึก และกำลังจะเกิดการสร้างความโกรธแค้นของทั้งสองฝ่ายจนทำให้เกิดความสูญเสียที่ไม่อาจจะเลี่ยงได้ติดตามความเข้มข้นที่ในสงครามอันยิ่งใหญ่อันใกล้ถึงจุดสิ้นสุดแห่งมหากาพย์ได้ใน ''มหาภารตะ ชุดที่ 6''และคอยติดตาม กับเรื่องราวสู่ตอนสุดท้ายของมหากาพย์ . . .

เมื่อจุดสิ้นสุด นำไปสู่บทสรุปแห่งความชอบธรรมกับชุดสุดท้ายที่จบทุกเรื่องราวที่สุดของมหากาพย์ ฉากสุดท้ายจะเป็นอย่างไรนั้นหาดูได้ใน ''มหาภารตะ"


เรื่องเล่าจากมหากาพย์ มหาภารตะ ชุดที่ 7 ตอนอวสานสงครามบนทุ่งกุรุเกษตร ถือเป็นตอนจบอย่างสมบูรณ์  ซึ่งเรื่องราวที่เหลือดำเนินไปถึงฉากสุดท้ายในกรุงทวารกาของ ''พระกฤษณะ'' ตามคำสาปของ ''พระนางคานธารี'



ก่อนจะยุติลงเป็นตอนอวสานเมื่อ ''พี่น้องปาฑพ'' เดินทางสู่สวรรค์และต้องล้มตายระหว่างทางทีละคนจนเหลือ คนสุดท้ายคือ ''ท้าวยุธิษฐิระ'' ความโกลาหลในโลกมนุษย์ จึงระงับลงได้ด้วยการอวตารลงมาปราบยุคของ ''พระกฤษณะ'' อันเป็นนารายณ์อวตารปางที่ 8 ในที่สุดนั่นเอง




มหากาลีเทวีพิทักษ์โลก Mahakali - Anth Hi Aarambh Hai

มหากาลี เทวีพิทักษ์โลกา ประเภท ดราม่าอิงตำนาน เหนือธรรมชาติ กำกับโดย     Loknath Pandey, Madan Vaishyaal อำนวยการสร้างโดย  ...