ตอนที่ 2 กำเนิดพี่น้องเการพ ปานฑพ
กาลผ่านไป ท้าวศานตนุได้สิ้นพระชนม์ หลังมีพระราชโอรสกับมเหสี
สัตยวดี 2 พระองค์ ได้แก่ เจ้าชาย จิตรางคทะ และ เจ้าชาย วิจิตรวีรยะ
ในช่วงที่พระราชโอรสทั้งสองพระองค์อยู่ในวัยเยาว์
ท้าวภีษมะจึงทำหน้าที่สำเร็จราชการแทน
วันหนึ่งเจ้าชายจิตรางคทะ
ได้สู้รบกับราชาคนธรรพ์ ด้วยเหตุว่า ทั้งคู่มีชื่อเหมือนกัน
ต้องเหลือผู้ใช้นามนี้เพียงหนึ่งเดียว
ซึ่งเจ้าชายจิตรางคทะพลาดท่าแพ้และสิ้นพระชนม์ในสนามรบ
วันปีผ่านไปจนเจ้าชายวิจิตรวีรยะเติบใหญ่พร้อมที่ขึ้นครองราชย์
ท้าวภีษมะเห็นว่าถึงเวลาอันเหมาะสมแล้ว
จึงคิดเรื่องการจัดงานอภิเษกสมรสให้กับเจ้าชายวิจิตรวีรยะ เวลาประจวบเหมาะกันนั้น พระราชาแห่งแคว้นกาสี
ได้จัดพิธีเลือกคู่สยุมพร ให้กับพระธิดาทั้งสามของ พระองค์ ได้แก่ เจ้าหญิงอัมพา
เจ้าหญิงอัมพิกา และเจ้าหญิงอัมพาลิกา
โดยเชื้อเชิญเจ้าชายจากแคว้นต่างๆทั่วชมพูทวีปเข้าร่วมพระราชพิธีนี้
ซึ่งเจ้าชายแห่งกรุงหัสตินาปุระก็ได้รับคำเชิญเช่นกัน (บ้างก็ว่าไม่ได้รับเชิญ
แต่ไปเอง)
ด้วยเจ้าชายวิจิตรวีรยะ ไม่เชี่ยวชาญการรบ
ท้าวภีษมะจึงรับหน้าไปเข้าร่วมพิธีเลือกคู่สยุมพรแทน เมื่อพิธีเริ่ม
ก็เป็นไปตามคาดไม่มีเจ้าชายพระองค์ใดต่อกรกับท้าวภีษมะผู้ยิ่งใหญ่ได้
เหลือเพิ่งแต่เจ้าชาย
ศัลวะ ยืนระยะได้เป็นคนสุดท้าย แต่ก็พ่ายแพ้ไปตามระเบียบ ดังนั้นท้าวภีษมะ จึงพาเจ้าหญิงผู้เลอโฉมทั้ง 3
พระองค์กลับกรุงหัสตินาปุระเพื่อเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับเจ้าชายวิจิตรวีรยะ
ซึ่งถือเป็นพระอนุชาของท้าวภีษมะนั่นเอง
เจ้าหญิงอัมพา ได้ยินดังนั้นก็ทรงเสียใจยิ่ง
พร้อมทั้งโกรธแค้นต่อท้าวภีษมะที่ทำให้ความรักของนางกับเจ้าชายศัลวะต้องผิดหวัง ด้วยแรงเครียดแค้น
เจ้าหญิงอัมพา จึงตั้งสัตย์ปฏิญาณว่าจะหาคนมาฆ่าท้าวภีษมะให้จงได้
เจ้าหญิงอัมพาบำเพ็ญตบะ บนยอดเขาหิมาลัย
จนร่างกายเป็นน้ำแข็ง ในท้ายที่สุดเจ้าหญิงอัมพาได้พรจากพระศิวะว่า
พระนางจะได้ไปเกิดใหม่ในชาติหน้า โดยที่พระนางจะได้เป็นฆ่าท้าวภีษมะด้วยตนเอง
เจ้าหญิงอัมพาได้ตรัสขอพรเพิ่มว่า ให้พระนางสามารถระลึกชาติได้
เพื่อที่ลิ้มรสการชำระแค้นอย่างสาสม ซึ่งพระศิวะก็ทรงให้พรตามต้องการ
ว่าแล้วเจ้าหญิงอัมพาก็กระโดดเข้ากองไฟฆ่าตัวตาย
ตัดกลับมาทีกรุงหัสตินาปุระ
เกิดเรื่องไม่คาดคิดขึ้น เจ้าชายหนุ่มวิจิตรวีรยะเกิดประชวรด้วยโรคร้ายแรง
และขึ้นพระชนม์ชีพในบัดดล ก่อนที่ได้ร่วมพิธีสยุมพรกับเจ้าหญิงทั้งสองพระองค์ ท้าวภีษมะกับพระมเหสีสัตยวดี
ทรงเสียใจกับเหตุการณ์ยิ่ง แต่กับเกิดปํญหาตามมาคือราชวงศ์กุรุต้องสิ้นผู้สืบราชบัลลังค์
ด้วยที่ท้าวภีษมะได้เคยให้สัตย์ว่าจะไม่ขึ้นเป็นพระราชา
และจะไม่มีความยินดีในสตรีอีกด้วย ดังนั้นทั้งสองพระองค์ จึงได้หาวิธีแก้ไขปัญหานี้
โดยการไปเชิญลูกของมเหสีสัตยวดีกับฤาษีปราศร ซึ่งก็คือ ฤาษีวยาส
(ผู้รจนาเรื่องมหาภารตะร่วมกับพระพิฆเนศ) มาทำพิธีนิโยค (มี sex) กับ เจ้าหญิงอัมพิกา และเจ้าหญิงอัมพาลิกา
ในคืนที่แรกที่เจ้าอัมพิกาต้องเข้าพิธีนิโยคกับฤาษีวยาส
ด้วยความที่ฤาษีวยาสรูปร่างหน้าตาอัปลักษณ์
เจ้าหญิงอัมพิกาทรงหลับตากล้ำกลืนด้วยความน่ารังเกียจ ขยะแขยงต่อฤาษีวยาส
หลังจากเสร็จพิธี ฤาษีวยาสได้ให้พร
ต่อเจ้าหญิงอัมพิกาว่า พระนางจะได้ราชโอรส สืบต่อราชบัลลังค์กุรุ
แต่ด้วยที่นางหลับตาด้วยความรังเกียจต่อข้า ดังนั้นลูกของพระนาง
จะตาบอดสนิทตั้งแต่กำเนิด
ในคืนต่อมาที่ เจ้าหญิงอัมพาลิกา
จะต้องเข้าร่วมพิธีเช่นกัน เมื่อแรกเห็นหน้า
ด้วยความว่าฤาษีวยาสหน้าตาน่าสะพรึงหรือเช่นไรไม่ทราบ เจ้าหญิงอัมพาลิกา
ถึงกับตกใจจะเป็นลม เนื้อตัวซีดเซียว หลังจากเสร็จพิธี ฤาษีวยาสก็ได้ให้พร
ต่อเจ้าหญิงอัมพาลิกา ว่าพระนางจะได้พระโอรสที่หล่อเหลาและคนสุภาพอ่อนโยน
แต่ด้วยความรังเกียจที่พระนางมีต่อข้า ลูกของพระนาง จะมีร่างกายขาวเผือก
สุขภาพไม่แข็งแรง
เจ้าชายปาณฑุ
เจ้าชายธฤตราษฎร์
เมื่อครบกำหนดพระโอรสของเจ้าหญิงอัมพิกาและเจ้าอัมพาลิกาจึงถือกำเนิด
โดยพระโอรสองค์หนึ่งแม้จะแข็งแรงแต่ดวงตาบอดสนิท มีพระนามว่า ธฤตราษฏร์
ส่วนพระราชโอรสอีกพระองค์ มีผิวพรรณขาวเผือก พระนามว่า “ปาณฑุ” และ “ท้าวธฤตราษฏร์” และ ท้าวปานฑุ จะกลายเป็นต้นวงค์ “เการพ” และ “ปานฑพ” ที่มาของศึกมหาภารตะนี้นี่เอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น